ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ของ แดง ไบเล่ย์

ภาพถ่ายจากซ้ายไปขวา มิตร ชัยบัญชา, เสือมเหศวร, แดง ไบเล่ย์

เรื่องราวของ แดง ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในชื่อ 2499 อันธพาลครองเมือง โดยมีแดงเป็นตัวเอก นำแสดงโดย เจษฎาภรณ์ ผลดี ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งหลังจากภาพยนตร์ออกฉายแล้ว เกิดเป็นกระแสพูดคุยกันอย่างกว้างในสังคมถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงกับภาพยนตร์ ซึ่งเหล่าบุคคลร่วมสมัยหรือที่เคยรู้จักกับแดง ต่างบอกว่า แดงตัวจริงนั้นไม่เคยฆ่าคน ไม่ถึงขั้นเป็นโจร แต่เป็นนักเลงวัยรุ่นธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง แม้จะเคยติดคุกที่เรือนจำลาดยาวก็ตาม จากการที่เจ้าตัวเข้ามอบตัวเองกับตำรวจ ไม่มีใครเคยเห็นแดงดื่มเหล้า แต่เครื่องดื่มของแดงที่ชื่นชอบคือ มิลค์เชค ซึ่งต่างจากตัวตนในภาพยนตร์โดยสิ้นเชิง อีกทั้งหลายอย่างก็เพี้ยนจากความจริง เช่น แดงตัวจริงได้บวช หรือการยกพวกตีกันของวัยรุ่นที่บางลำพูที่เรียกว่า "ศึก 13 ห้าง บางลำพู" นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่นฝั่งพระนครเจ้าถิ่นกับนักเรียนที่ข้ามฟากมาจากฝั่งธนฯ เพื่อมาหาซื้อผ้าตัดกางเกงที่บางลำพู โดยเป็นการนัดวิวาทกันในวันรุ่งขึ้นถัดจากวันนั้น และอาวุธที่ใช้ก็มีเพียงแต่มีดกับไม้เท่านั้น แต่ละฝ่ายได้รับบาดเจ็บไปเพียงคนละเล็กน้อย ทั้งหมดได้ยุติลงเมื่อตำรวจมาถึง โดยใช้เวลาตีรันฟันแทงกันประมาณ 10 นาที[3][4][5]

และครั้งที่ 2 ใน อันธพาล ซึ่งมี จ๊อด เฮาดี้ และ แดง ไบเล่ย์ เป็นตัวเอก ในคราวนี้ แดง ไบเล่ย์ แสดงโดย สมชาย เข็มกลัด ในปี พ.ศ. 2555[6]